ลดกินเค็ม ลดโซเดียม เคล็ดลับหุ่นดีที่คุณควรรู้

ในการดูแลสุขภาพ เราควรใส่ใจทั้งวัตถุดิบ ส่วนประกอบต่างๆ ในการปรุงอาหาร หรือแม้แต่เครื่องปรุง โดยเฉพาะรสเค็มที่ผลกับสุขภาพโดยรวมและน้ำหนักตัว รสเค็มมาจากเกลือ โซเดี่ยมถือว่าเป็นภัยเงียบที่แอบแผงอยู่ในอาหารแทบทุกชนิด โซเดี่ยม ภัยเงียบแจกฟรี จากสถิติทั่วทั้งโลก และรวมถึงประเทศไทย พบว่า คนในยุคปัจจุบันมีการกินอาหารที่มีรสเค็มเพิ่มมากขึ้น

โดยจะพบว่ามีการได้รับปริมาณของเกลือเฉลี่ยต่อคนสูงกว่าค่าปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน สำหรับคนไทยที่กำหนดให้ได้รับเกลือไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา โดยที่มีโซเดียมไม่เกินวันละ 2,300 มิลลิกรัม แต่ค่าเฉลี่ยของคนไทย คือ ได้รับเกลือประมาณวันละ 2 ช้อนชา โดยมีโซเดียมต่อวันมากกว่า 4,000 มิลลิกรัม การได้รับโซเดียมที่มากกว่าปริมาณที่แนะนำจะทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพตามมา ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารรสเค็มเป็นประจำ จะมีพฤติกรรมการกินของหวานและเครื่องดื่มที่มีรสหวานมากกว่าผู้ที่ไม่รับประทานรสเค็ม เนื่องจากเมื่อร่างกายได้รับโซเดียม ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ในเกลือและสารที่ให้ความเค็มอื่นๆ ร่างกายจะมีความเข้มข้นของของเหลวในร่างกายที่สูงขึ้น และส่งผลให้ร่างกายต้องการน้ำเพราะจะรู้สึกกระหายน้ำมากขึ้น และจากงานวิจัยระบุว่า เครื่องดื่มที่ผู้คนส่วนใหญ่ที่ชอบรับประทานรสเค็มเลือกนั้น ก็คือ เครื่องดื่มประเภทน้ำหวาน จึงทำให้ได้รับน้ำตาลสูงขึ้น เป็นสาเหตุให้ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารรสเค็มมีความเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักตัวเกินและเป็นโรคอ้วนได้ง่ายกว่า โดยปกติแล้วระบบประสาทการรับรู้รสชาติของอาหารที่ลิ้นจะลดน้อยลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าคนที่ชอบกินอาหารรสเค็มจะเพิ่มความเค็มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพ การกินอาหารที่มีโซเดียมสูง เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะไตเสื่อม เนื่องจากไตซึ่งเป็นอวัยวะที่กรองของเสียและน้ำออกนอกร่างกายจะต้องทำงานหนัก เมื่อมีโซเดียมในร่างกายสูง และเมื่อต้องทำงานหนักเป็นประจำไตก็จะเสื่อมเร็วขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและตามมาด้วยความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องมาจากการที่ร่างกายได้รับโซเดียมจะไปเพิ่มเซลล์กล้ามเนื้อของหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดความดันโลหิตที่สูงขึ้นและหัวใจทำงานหนักมากขึ้น การได้รับปริมาณของโซเดียมสูงในระยะยาวจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อม

Scroll to Top